บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2019

ภาษาศาสตร์คืออะไร

ภาษาศาสตร์คืออะไร ภาษาศาสตร์ไม่ใช่การศึกษาภาษาเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาในด้านต่างๆ แต่เป็นการศึกษาภาษาเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติหรือระบบของภาษามนุษย์ โดยใช้แนวคิด ทฤษฎีและวิธีการวิจัยที่เป็นวิทยาศาสตร์ ประเด็นต่างๆที่นักภาษาศาสตร์ให้ความสนใจมีมากมาย เช่น เสียงในภาษาต่างๆทั่วโลกมีลักษณะอย่างไรบ้าง โครงสร้างไวยากรณ์ของภาษาต่างๆมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่าง มนุษย์เราสามารถเข้าใจและตีความความหมายของคำศัพท์หรือประโยคได้อย่างไร เป็นต้น ภาษาศาสตร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 แขนงหลักคือ ภาษาศาสตร์ทั่วไป ( General linguistics) และภาษาศาสตร์ประยุกต์ ( Applied linguistics) 1.        ภาษาศาสตร์ทั่วไป   ศึกษาตัวภาษาโดยตรงโดยไม่ได้เชื่อมโยงกับศาสตร์แขนงอื่นๆ โดยนักภาษาศาสตร์อาจแบ่งการศึกษาออกเป็นส่วนใหญ่ๆเช่น การศึกษาในระดับเสียง ระดับคำ ระดับความหมาย ระดับโครงสร้างไวยากรณ์ การเปลี่ยนแปลงของภาษา เป็นต้น 2.       ภาษาศาสตร์ประยุกต์   ศึกษาภาษาโดยเชื่อมโยงกับศาสตร์แขนงอื่นๆ เช่น สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา การศึกษา คอมพิวเตอร์ นิติวิทยาศาสตร์ มีการประยุกต์องค์คว

ชนิดของคำ

ชนิดของคำ คำในภาษาไทยจำแนกได้ ๗ ชนิด คือ ๑. คำนาม ๒. คำสรรพนาม ๓. คำกริยา ๔. คำวิเศษณ์ ๕. คำบุพบท ๖. คำสันธาน ๗. คำอุทาน   คำนาม   คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ รวมทั้งสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม เช่น เด็ก พ่อ แม่ นก ช้าง บ้าน โรงเรียน ความดี ความรัก ฯลฯ คำนามแบ่งเป็น ๕ ชนิด ดังนี้ ๑. สามมานยนาม คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น พ่อ แม่ นก รถ ขนม ทหาร ตำรวจ ครู คน ประเทศ รัฐบาล ฯลฯ           ตัวอย่าง                - นักเรียนอ่านหนังสือ                - แม่ซื้อผลไม้ในตลาด ๒. วิสามานยนาม คือ นามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เช่น ครูสมศรี ประเทศไทย วันจันทร์ จังหวัดปัตตานี โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล ฯลฯ           ตัวอย่าง                - โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูลตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี                - เด็กชายวุฒิชัยได้รับรางวัลเรียนดีเยี่ยม ๓. ลักษณะนาม คือ คำนามที่ใช้บอกลักษณะของนามหรือกริยา เพื่อบอกขนาด รูปร่างสัณฐาน ปริมาณ เช่น ตัว ด้าม เม็ด หลัง ฯลฯ           ตัวอย่าง